ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(The Stock
Exchange of Thailand - SET) เป็นตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย
จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) เวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ มี 2
ช่วงคือ ช่วงเช้า 10.00น. - 12.30น.ช่วงบ่าย 14.30น. - 16.30น.
และหยุดตามวันหยุดของทางราชการ ทำหน้าที่เป็นตลาดรองเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายตราสารทุน
ของบริษัทต่างๆ ที่ขึ้นทะเบียนไว้ และ
เพื่อให้สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้โดยสะดวก
ปัจจุบันการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ตลาดหลักทรัพย์
เอ็ม เอ ไอ (Market
for Alternative Investment - MAI) เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองของประเทศไทย มีจุดประสงค์การทำงานโดยทั่วไป
เหมือนกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คือ
ทำหน้าที่เป็นตลาดทุน เพื่อให้กิจการต่างๆ
สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้ แต่ตลาดใหม่นี้
จะเน้นไปที่กิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี - SME) และกิจการเกี่ยวกับนวัตกรรม
โดยได้ผ่อนผันหลักเกณฑ์ต่างๆ ลง เช่น ทุนชำระแล้วขั้นต่ำของหลักทรัพย์ในตลาดหลัก
คือ 200 ล้านบาท ในขณะที่ขั้นต่ำของตลาดใหม่ ลดลงเป็น 40
ล้านบาท เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้กิจการขนาดเล็ก
ที่ไม่สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ ได้มีหนทางในการระดมทุน
รวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมการร่วมลงทุน (venture capital) เพื่อเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ตลาดอนุพันธ์ Thailand Futures Exchange (TFEX) บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ เป็นศูนย์กลางการซื้อขายอนุพันธ์เกี่ยวกับตราสารทุน
ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ
ภายใต้พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
เป็นหน่วยงานกำกับดูแล
สินค้าที่สามารถจัดให้มีการซื้อขายได้ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติสัญญาซื้อ ขายล่วงหน้า
พ.ศ. 2546 คือ ฟิวเจอร์ส (Futures) ออปชั่น (Options)
และออปชันบนสัญญาฟิวเจอร์ส (Options on Futures) ของสินทรัพย์อ้างอิงประเภทต่าง ๆ ได้แก่
- อ้างอิงกับตราสารทุน ได้แก่ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ หลักทรัพย์
- อ้างอิงกับตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราดอกเบี้ย
- อ้างอิงกับราคาหรือดัชนีราคาอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ อัตราแลกเปลี่ยน
- อ้างอิงกับตราสารทุน ได้แก่ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ หลักทรัพย์
- อ้างอิงกับตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราดอกเบี้ย
- อ้างอิงกับราคาหรือดัชนีราคาอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ อัตราแลกเปลี่ยน
ตลาดตราสารหนี้ Bond Exchange (BEX)
-
เป็นตลาดแบบ Over
the counter คือ ไม่มีสถานที่และไม่ได้กำหนดเวลาซื้อขายปิดเปิดตลาดที่แน่นอน
เหมือนอย่างในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
-
ผู้เล่นหลักคือ Dealer ไม่ใช่ Broker คือ ในการซื้อขายตราสารหนี้
นักลงทุนจะติดต่อซื้อขายกับผู้ค้าตราสารหนี้(Dealer) ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน
ก.ล.ต. สถาบันการเงินที่เป็นผู้ค้าตราสารหนี้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA)
-
รายได้ของ
Dealer มาจากส่วนต่างของราคา มิใช่ค่านายหน้า คือ ในการซื้อขายตราสารหนี้
มีรายได้จากกำไรส่วนต่างระหว่างซื้อขาย(Spread) เนื่องจากเป็นการซื้อขายระหว่างพอร์ตของสถาบันการเงินที่เป็นผู้ค้าตราสารหนี้กับของลูกค้า
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
(AFET) เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย
Futures ที่อ้างอิงมูลค่าจากราคาสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ
ได้แก่ ยางพารา ข้าว และมันสำปะหลัง
ซึ่งนอกจากนักลงทุนจะเข้ามาแสวงหาผลกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าแล้ว
การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านสินค้าเกษตรในตลาด AFET ยังเป็นเพียงช่องทางเดียวที่นักลงทุนในประเทศจะสามารถลงทุนในสินทรัพย์
Commodities ได้ โดยไม่ต้องทำธุรกิจค้าขายในสินค้านั้นๆ
ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจค้าขายสินค้าเกษตรก็สามารถเข้ามาใช้
Futures เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้านั้นๆ
ได้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น